เมนู

ที่เหลือทั้งหลาย มีอธิบายว่า ตัดตัณหาราคะได้แล้ว ก็ความเยื่อใยนั่นแล
เรียกว่า โทษ คือ ความเยื่อใย. บทที่เหลือ มีนัยที่กล่าวแล้วนั่นแล.
อาวรณคาถาวัณณนา จบบริบูรณ์

คาถาที่ 33


คาถาว่า วิปิฏฺฐิกตฺวาน ดังนี้ มีอุบัติอย่างไร ?
ได้ยินว่า พระราชาพระองค์หนึ่งในกรุงพาราณสี ทรงได้จตุตถฌาน
ท้าวเธอทรงสละราชสมบัติ เพื่อทรงตามรักษาฌาน ทรงผนวช เจริญวิปัสสนา
อยู่ ทรงทำให้แจ้ง ซึ่งปัจเจกโพธิญาณ เมื่อจะทรงแสดงสัมปทาแห่งการ
ปฏิบัติของพระองค์ จึงตรัสอุทานคาถานี้ว่า
วิปัฏฺฐิกตฺวาน สุขํ ทุกฺขญฺจ
ปุพฺเพว จ โสมนสฺสโทมนสฺสํ
ลทฺธานุเปกฺขํ สมถํ วิสุทฺธํ
เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป

บุคคลละสุข ทุกข์ โสมนัส และ
โทมนัสในก่อนได้ ได้อุเบกขา และสมถะ
อันบริสุทธิ์แล้ว พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือน
นอแรด ฉะนั้น
ดังนี้.
ในบทเหล่านั้น บทว่า วิปิฏฺฐิกตฺวาร ความว่า ทำไว้ข้างหลัง
คือ ทิ้งแล้ว สละแล้ว. บทว่า สุขํ ทุกฺขญฺจ ได้แก่ ความสำราญทางกาย
และความไม่สำราญทางกาย. บทว่า โสมนสฺสโทมนสฺสํ ได้แก่ ความ
สำราญทางใจและความไม่สำราญทางใจ. บทว่า อุเปกฺขํ ได้แก่ อุเบกขาใน